วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566

เทคนิคการออกแบบงานนำเสนออย่างสร้างสรรค์

 

        การนำเสนอที่ดี ต้องชัดเจน เรียบง่าย สะอาดตา  มีเรื่องราว และนำเสนอน่าสนใจบทความ
ลองมาดูรายละเอียดแบบกันครับ



    1. Background การเลือกใช้ Background การเลือก Template หรือการจัดวาง layout ในการนำเสนอการใช้ background หรือ template ถือเป็นประการแรกๆ ในการวางแผนการออกแบบ presentation ซึ่งจะ ส่งผลต่อภาพรวมหรือการวาง layout ของงาน ฉนั้นการเลือกใช้รูปแบบสไลด์ที่อยู่ในโปรแกรม PowerPoint อาจดูเป็นรูปแบบเดิมๆ หรือซ้ำกันจนมากเกินไป หรืออีกปัจจัยหนึ่งคือผู้นำเสนองานเลือก background หรือ Template สีสันฉูดฉาด หรือ ลวดลายก่อกวนสายตา ซึ่งอาจมีภาพกราฟิกที่มาก เกินไป ซึ่งทำให้ผู้ฟังมีความน่าเบื่อ ไม่ชวนมอง และไม่สวยงาม ดังนั้นจึงอาจเริ่มต้นจากการออกแบบสไลด์นำเสนอโดยการสร้างพื้นที่ว่าง หรือหน้าสไลด์เปล่าขึ้น มาแล้วออกแบบสไลด์นำเสนอให้ดูเรียบง่าย ดูสะอาดตา หรือมีความแปลกใหม่ หรือเลือกการออกแบบที่ เข้ากับ Trend อย่างเช่นในปัจจุบัน ก็จะให้ความสนใจกับงานออกแบบที่เป็น Flat Design ซึ่งเน้นเป็นงาน แบนราบ ลดองค์ประกอบที่เป็นมิติ เน้นไปที่ Content มากกว่า จะทำให้งานออกแบบมีความน่าสนใจ มากยิ่งขึ้น 

    2. การกำหนดบรรทัดหรือข้อความในการนำเสนอ การนำเสนอข้อมูลในสไลด์ ควรให้ความสำคัญเฉพาะสาระสำคัญของเนื้อหา ซึ่งไม่ควรมีตัวอักษร ที่มากเกินไป หรือไม่ควรอัดข้อความมากเกินความจำเป็นหรือเต็มหน้าสลด์ ลดการใช้ Bullet ที่เยอะ เกินไป ผู้นำเสนอจึงควรเลือกเฉพาะหัวข้อที่ต้องการนำเสนอ หรือข้อความสำคัญ ดังนั้นสไลด์ที่ดีในแต่ละ หน้าจึงไม่ควรมีเนื้อหาที่กระจุกเกินไปหรือ ไม่ควรเกิน 6-8 บรรทัด เพื่อความสนใจของผู้ชม 


    3. การเลือกตัวอักษรในการนำเสนอ การนำเสนองานนอกจากการคำนึงถึงเนื้อหาที่กระชับต่อผู้ชมและผู้ฟังแล้ว การที่ผู้ชมสามารถ เข้าใจได้ง่าย และมีความสบายตาไม่ซับซ้อน ถือเป็นจุดประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่ง ดังนั้นการเลือกใช้ ฟอนต์ (Font) หรือ แบบตัวอักษร ให้เหมาะกับงานนำเสนอจึงเป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจ เพื่อทำให้งาน นำเสนอดูทันสมัย รวมถึงทำให้ผู้ที่อ่านเข้าใจ Concept ของงานเราได้ง่ายขึ้นอีกด้วย โดยเราควรทำความเข้าใจถึงลักษณะต่างๆ ของ Font เพื่อนำมาใช้งานได้ถูกประเภทกันครับ Font แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 


            3.1 ฟอนต์ Serif หรือ ฟอนต์แบบมีเชิงในภาษาอังกฤษ หรือ ถ้าภาษาไทยคือ ฟอนต์มี หัว โดยลักษณะเด่นของ font คือ มีเชิงที่ปลายตัวอักษร ฟอนต์ประเภทนี้เป็นฟอนต์ดั้งเดิม นิยมใช้สำหรับ พิมพ์เนื้อความเพราะมีส่วนช่วยทำให้อ่านได้ง่ายขึ้นเมื่อกวาดสายตาไปตามเนื้อหาการใช้ฟอนต์นี้จะทำให้ งานดูคลาสสิคมากขึ้น และนิยมใช้กับงานที่เป็นทางการ ฃ 
            3.2 ฟอนต์ Sans Serif หรือ ฟอนต์ไม่มีเชิงในภาษาอังกฤษ หรือถ้าภาษาไทยจะ หมายถึงฟอนต์ไม่มีหัว เป็นตัวอักษรเรียบๆ ตัดส่วนหัวของพยัญชนะไทยออกไป เหมาะกับการใช้ในส่วน ของหัวข้อ ฟอนต์สไตล์นี้จะทำให้งานดูทันสมัยขึ้น เพราะความเรียบง่ายของรูปแบบฟอนต์ฟอนต์ประเภท นี้เหมาะกับงานที่ดูร่วมสมัยและเป็นสากล เหมาะกับงานหน้าเว็บ การนำเสนอ หรือแม้กระทั่งงานดิจิทัล ต่างๆ 
             3.3 ฟอนต์ปลายหวัด หรือ Script เป็นฟอนต์ที่ใช้ในงานออกแบบที่เน้นความหรูหรา หรือแบรนด์ที่ต้องการสื่อถึงความสวยงาม หรือผู้หญิง เนื่องจากความอ่อนช้อยของฟอนต์ 
            3.4 ฟอนต์ลายมือ หรือ Handwritting ฟอนต์ประเภทนี้จะเป็นฟอนต์ที่ไม่เป็นทางการ ใช้กับงานนำเสนอที่ต้องการให้มีความเป็นกันเอง สบายๆ หรือต้องการความน่ารัก ฉนั้นการนำไปใช้จึงควร คำนึงถึงการใช้งานเป็นอย่างมากเนื่องจากฟอนต์ลายมือจะส่งผลต่อการอ่านสไลด์ของผู้ชม ซึ่งบางครั้งทำ ให้ยากต่อการเข้าใจเนื้อหาของข้อมูลที่นำเสนอ 
            3.5 Display หรือฟอนต์แบบประดิษฐ์ฟอนต์ลักษณะนี้ตัวอักษรจะถูกตกแต่งหรือ ประดิษฐ์ให้มีความแปลก สวย เด่น แต่ไม่เหมาะสำหรับเนื้อหา หรือข้อความจำนวนมาก เนื่องจากอ่าน ยาก แต่เหมาะสำหรับพาดหัวข้อใหญ่
    4.

การนำภาพถ่ายหรือกราฟิก
มาใช้ในงานนำเสนอ การใช้ภาพประกอบการนำเสนอนั้นจะช่วยให้การนำเสนอของเรามีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ มากขึ้น เนื่องจากการใช้ภาพเป็นตัวเล่าเรื่องราวดึงดูดผู้ชมมากกว่าการใช้ตัวอักษร หรือภาพสื่ออารมณ์ นั่นเอง ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย หรือภาพกราฟิกต่างๆ จะเพิ่มความเข้าใจและการรับรู้ให้กับผู้ชมโดย ผ่านการเล่าเรื่องด้วยภาพ แต่ก็ยังมีข้อควรระวังเช่นกันนั่นก็คือ ไม่ควรใส่ภาพถ่ายจำนวนมากลงไปใน สไลด์เดียว หรือหากจำเป็นต้องใช้ควรมีการจัดวางที่เหมาะสม


    5. การใช้สีในงานนำเสนอ สีในงานนำเสนอ ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญ เพื่อใช้เป็นตัวกระตุ้นอารมณ์และเน้นความรู้สึกของ เรื่องราวหรือข้อความที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งการเลือกสีที่เหมาะสมจะทำให้สามารถสร้างแรงจูงใจในงาน นำเสนอ โดยสีที่นำมาใช้จึงควรแบ่งเป็น สีโทนร้อนและสีโทนเย็น หรือสีสว่างและสีเข้ม ซึ่งหากผู้นำเสนอ ต้องการเน้นข้อความใดในสไลด์นำเสนอจึงควรเน้นด้วยโทนสี หรือคู่สีตรงกันข้าม เพื่อให้ข้อความโดดเด่น และดึงดูดสายตาผู้ชม เพื่อให้เข้าถึงใจความสำคัญได้ง่ายขึ้น หรือเลือกใช้สีที่ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง Background และ ข้อความ เพื่อให้จะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน และอีกอย่างหนึ่งของการเลือกใช้สีคือ ไม่ควรใช้สีที่เยอะเกินไปโดยเฉพาะการใช้สีในข้อความ เพื่อให้งานดูทันสมัย และอ่านได้ง่ายขึ้น



    6. การคำนึงถึงพื้นที่วางและองค์ประกอบในงานนำเสนอ การออกแบบผลงานนำเสนอ ควรคำนึงถึงองค์ประกอบของภาพ โดยในหนึ่งสไลด์ไม่ควรมีการ กระจุกข้อความหรือภาพจนแน่นเกินไป จนทำให้ผู้ชมหรือผู้ฟังรู้สึกอึดอัด และทำให้ยากต่อการอ่าน ดังนั้น ผู้นำเสนอควรคำนึงถึงพื้นที่วางในงาน หากมีภาพประกอบก็ควรจะใส่เนื้อหาให้น้อยลง หรือ ใส่เฉพาะส่วน สำคัญ เว้นพื้นที่ภายในสไลด์ เพื่อให่ง่ายต่อการอ่าน หรือหากมีข้อความ รายละเอียด ควรมีการจัดวาง ฟอนต์ มีเล็กและใหญ่ เพื่อเป็นการเน้นในส่วนสาระสำคัญ และถือเป็นการใช้ข้อความมาเป็นลูกเล่นในงาน ออกแบบ


    7. การใช้กราฟและแผนภูมิ (Graph & chart) ในการนำเสนอ สิ่งสำคัญในการนำเสนอ คือ การบรรจุข้อมูลที่ง่ายต่อความเข้าใจของผู้รับ หรือผู้ฟัง ซึ่งการ นำเสนอด้วยข้อมูลซึ่งเต็มไปด้วยตัวเลข และข้อมูลทางสถิติต่างๆ ในการนำเสนอเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เพื่อง่ายต่อการเข้าใจของผู้ฟัง การเปลี่ยนข้อมูลเชิงตัวเลขให้เป็นภาพ ผู้นำเสนอผลงานควรให้ความสำคัญ เพราะจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย เห็นภาพชัดเจน ทำให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบัน การนำเสนองานในแนว Infographic ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากทำให้ข้อมูลหรือตัวเลขที่มีจำนวน มาก ถูกย่อยให้เข้าใจได้ง่ายด้วยภาพ หรือ graph

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก https://ird.rmutt.ac.th/?wpfb_dl=1592


    



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นำเสนองานยังไง ? ให้ถูกใจคน GEN Y

            Generation V คือกลุ่มคนที่กิดตั้งปี 1800-ตอนต้นของปี 2000 จุดเด่นของกลุ่มคน Gen Y จะเติบโตมาพร้อมๆ กับเทคโนโลยีและมีความมั่นใจใน...