วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566

นำเสนองานยังไง ? ให้ถูกใจคน GEN Y

 



        Generation V คือกลุ่มคนที่กิดตั้งปี 1800-ตอนต้นของปี 2000 จุดเด่นของกลุ่มคน Gen Y จะเติบโตมาพร้อมๆ กับเทคโนโลยีและมีความมั่นใจในตัวเองสูง ดังนั้นเรามาดูกันว่าเมื่อเวลาเราจะนำเสนองานแก่คนกลุ่มนี้ เราต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้พวกเขาสนใจที่จะฟังสิ่งที่เรานำเสนอ



        จากผลสำรวจพบว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ใช้สมาทโฟนกันกว่า 80% เพราะฉะนั้นแล้วคุณควรจะทำตัวเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีก่อน โดยการหา App หรือ Software ตัวใหม่ล่าสุดที่ใช้ทำ Presentation และใช้ Software หรือ Appเหล่านี้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขา เพื่อให้พวกเขารู้สึกไม่น่าเบื่อกับสิ่งที่นำเสนออยู่

ตัวอย่าง App ที่จะทำให้กลุ่ม GenY ดูมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่นำเสนออยู่ก็คือ slideklow เป็น App ที่จะช่วยให้ผู้ชมสามารถดู Presentation ได้ผ่านสมารโฟนเลย มีให้ดาวน์โหลดฟรีบน Apple Store และ Google Play แล้วและอีก App หนึ่งชื่อว่า Presentain เป็น App ที่ผู้ชมสามารถ ถามคำถาม โหวโพล หรือแม้กระทั่งการแชร์สไลด์ซึ่งกัน และกัน App นี้ก็ปล่อยให้ดาวน์โหลดฟรีอีกเช่นกัน  



        จากผลสำรวจพบว่า 80% ของคน Gen Y มักเต็มใจจะมอบเงินให้กับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร คน GenY คือกลุ่มคนที่มีความตระหนักต่อสังคม นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมสินค้าพวกออแกนนิกหรือรองเท้า TOMs ถึงเป็นสินค้าที่ขายดีและคน GenY ให้ความสนใจ ฉะนั้นคุณอาจจะใช้ประโยชน์จากตรงนี้โดยสร้างความตระหนัก (Awareness) ต่อกลุ่มคนเหล่านี้ในขณะที่คุณนำเสนอ แบ่งปันสิ่งที่สำคัญจริงๆสำหรับคุณให้แก่พวกเขา



        แคมเปญที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดสำหรับคน Genㆍ นั่นก็คือแคมเปญที่มีความสร้างสรรค์และมีความเป็นกันเองมีความจริงใจในคุณภาพ และมีการพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง และเพื่อดึงดูดคน GenY คุณควรจะต้องสอดแทรกเรื่องตลก หรือมีการเล่าเรื่องราว เพื่อให้ผู้ชมคล้อยตามกับสิ่งที่คุณพูดผู้ชมที่เป็น GenY มักจะมีความรู้สึกว่าพวกเขามีค่ และทำให้เขารู้สึกว่าเป็นเพื่อนมากกว่าเป็นผู้ชม ในขณะที่คุณนำ

เสนออยู่ลองเอาเทคนิคเล็กน้อยๆ นี้ไปปรับใช้กับงานนำเสนอของคุณเพื่อนเชื่อมโยงคุณกับกลุ่มคน GenY ให้เข้าใจและเป็นไปในทางเดียวกันมากขึ้น




สนใจทำ Presentation และ Infographic ติดต่อที่นี่ PresentationX

เทคนิคการเลือกใช้สีในงาน Presentation

     


การสร้างงานออกแบบ Presentation ให้เจ๋งนั้น เราคงต้องพึ่งหลักการใช้เพื่อทำให้ผู้ชมสนใจ Presentation ของเรา และถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่างานออกแบบ Presentation ของคุณจะเป็นไปในทิศทางไหน หรือยังไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงดี วันนี้เรามีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการเลือกใช้สีในการออกแบบ Presentation ของคุณ



        แบบแรกคือการใช้สีที่มีเฉดที่แตกต่งกัน อย่างเช่น แม่สี (แดง เหลือง น้ำเงิน) เป็นต้น วิธีการนี้จะทำให้คุณรู้ว่าสีทั้ง3 มีความสดที่เท่ากันแบบที่สองคือการเลือกใช้สีคู่ตรงข้ามกัน เช่น สีน้ำเงิน สีน้ำเงินอ่อน กับ สีเหลือง สีเหลืองอ่อน เป็นต้นแบบที่สามคือการเลือกใช้สีที่รียงเป็นโทนเดียวกัน เช่นการเลือกใช้สีเขียว และเขียวอ่อนแต่ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าเลือกใช้ถูกต้องไหมสามารถเข้าไปเลือกดูใน Kuler ก็จะสะดวกขึ้นเพราะในเว็บมีการจัด Palette สีไว้แล้ว



        เมื่อพูดถึงเรื่องการใช้ตัวหนังสือในงานออกแบบ Presentation กรเลือกใช้สีที่ถูกต้องถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเลือกให้เข้ากับ Backgraound ถ้าสีตัวหนังสือเป็นสีอ่อน ควรเลือก Background เป็นสีเข้ม และถ้า

Bacground เป็นสีอ่อนมก็ควรเลือกให้ตัวหนังสือเป็นสีข้ม เพื่อสร้างความแตกต่างของสีให้ผู่ชมสามารถอ่าน

ข้อความได้ง่ายขึ้น



        การเลือกใช้สีเพียงแค่ 3-4 สีก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ผู้ชมสนใจที่จะอ่านและมองสไลด์ที่คุณออกแบบมา เพราะการเลือกใช้สีที่เยอะมักจะทำให้ผู้ชมรู้สึกสับสนในสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อสาร



        ถ้าคุณเลือกใช้สีในงานแค่ 3สี มันก็จะทำให้คุณ balance ในสไลด์ได้ลองนำทฤษฎี 60-30-10 โดยการแบ่งการออกแบบสไลด์ของคุณเป็นหน่วยแบบเปอร์ซน 60% แรกคือการใช้สีพื้นของสไลด์ และ 30% ต่อมาสำหรับสีที่ 2 ที่ใช้ในสไลด์ และ 10 สุดท้ายคือกรนำไปใช่ในการเน้นหรือไฮไลท์ส่วนที่สำคัญของสไลด์ วิธีนี้จะช่วยให้Balance สีให้เข้ากันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน





เทคนิคการออกแบบงานนำเสนออย่างสร้างสรรค์

 

        การนำเสนอที่ดี ต้องชัดเจน เรียบง่าย สะอาดตา  มีเรื่องราว และนำเสนอน่าสนใจบทความ
ลองมาดูรายละเอียดแบบกันครับ



    1. Background การเลือกใช้ Background การเลือก Template หรือการจัดวาง layout ในการนำเสนอการใช้ background หรือ template ถือเป็นประการแรกๆ ในการวางแผนการออกแบบ presentation ซึ่งจะ ส่งผลต่อภาพรวมหรือการวาง layout ของงาน ฉนั้นการเลือกใช้รูปแบบสไลด์ที่อยู่ในโปรแกรม PowerPoint อาจดูเป็นรูปแบบเดิมๆ หรือซ้ำกันจนมากเกินไป หรืออีกปัจจัยหนึ่งคือผู้นำเสนองานเลือก background หรือ Template สีสันฉูดฉาด หรือ ลวดลายก่อกวนสายตา ซึ่งอาจมีภาพกราฟิกที่มาก เกินไป ซึ่งทำให้ผู้ฟังมีความน่าเบื่อ ไม่ชวนมอง และไม่สวยงาม ดังนั้นจึงอาจเริ่มต้นจากการออกแบบสไลด์นำเสนอโดยการสร้างพื้นที่ว่าง หรือหน้าสไลด์เปล่าขึ้น มาแล้วออกแบบสไลด์นำเสนอให้ดูเรียบง่าย ดูสะอาดตา หรือมีความแปลกใหม่ หรือเลือกการออกแบบที่ เข้ากับ Trend อย่างเช่นในปัจจุบัน ก็จะให้ความสนใจกับงานออกแบบที่เป็น Flat Design ซึ่งเน้นเป็นงาน แบนราบ ลดองค์ประกอบที่เป็นมิติ เน้นไปที่ Content มากกว่า จะทำให้งานออกแบบมีความน่าสนใจ มากยิ่งขึ้น 

    2. การกำหนดบรรทัดหรือข้อความในการนำเสนอ การนำเสนอข้อมูลในสไลด์ ควรให้ความสำคัญเฉพาะสาระสำคัญของเนื้อหา ซึ่งไม่ควรมีตัวอักษร ที่มากเกินไป หรือไม่ควรอัดข้อความมากเกินความจำเป็นหรือเต็มหน้าสลด์ ลดการใช้ Bullet ที่เยอะ เกินไป ผู้นำเสนอจึงควรเลือกเฉพาะหัวข้อที่ต้องการนำเสนอ หรือข้อความสำคัญ ดังนั้นสไลด์ที่ดีในแต่ละ หน้าจึงไม่ควรมีเนื้อหาที่กระจุกเกินไปหรือ ไม่ควรเกิน 6-8 บรรทัด เพื่อความสนใจของผู้ชม 


    3. การเลือกตัวอักษรในการนำเสนอ การนำเสนองานนอกจากการคำนึงถึงเนื้อหาที่กระชับต่อผู้ชมและผู้ฟังแล้ว การที่ผู้ชมสามารถ เข้าใจได้ง่าย และมีความสบายตาไม่ซับซ้อน ถือเป็นจุดประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่ง ดังนั้นการเลือกใช้ ฟอนต์ (Font) หรือ แบบตัวอักษร ให้เหมาะกับงานนำเสนอจึงเป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจ เพื่อทำให้งาน นำเสนอดูทันสมัย รวมถึงทำให้ผู้ที่อ่านเข้าใจ Concept ของงานเราได้ง่ายขึ้นอีกด้วย โดยเราควรทำความเข้าใจถึงลักษณะต่างๆ ของ Font เพื่อนำมาใช้งานได้ถูกประเภทกันครับ Font แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 


            3.1 ฟอนต์ Serif หรือ ฟอนต์แบบมีเชิงในภาษาอังกฤษ หรือ ถ้าภาษาไทยคือ ฟอนต์มี หัว โดยลักษณะเด่นของ font คือ มีเชิงที่ปลายตัวอักษร ฟอนต์ประเภทนี้เป็นฟอนต์ดั้งเดิม นิยมใช้สำหรับ พิมพ์เนื้อความเพราะมีส่วนช่วยทำให้อ่านได้ง่ายขึ้นเมื่อกวาดสายตาไปตามเนื้อหาการใช้ฟอนต์นี้จะทำให้ งานดูคลาสสิคมากขึ้น และนิยมใช้กับงานที่เป็นทางการ ฃ 
            3.2 ฟอนต์ Sans Serif หรือ ฟอนต์ไม่มีเชิงในภาษาอังกฤษ หรือถ้าภาษาไทยจะ หมายถึงฟอนต์ไม่มีหัว เป็นตัวอักษรเรียบๆ ตัดส่วนหัวของพยัญชนะไทยออกไป เหมาะกับการใช้ในส่วน ของหัวข้อ ฟอนต์สไตล์นี้จะทำให้งานดูทันสมัยขึ้น เพราะความเรียบง่ายของรูปแบบฟอนต์ฟอนต์ประเภท นี้เหมาะกับงานที่ดูร่วมสมัยและเป็นสากล เหมาะกับงานหน้าเว็บ การนำเสนอ หรือแม้กระทั่งงานดิจิทัล ต่างๆ 
             3.3 ฟอนต์ปลายหวัด หรือ Script เป็นฟอนต์ที่ใช้ในงานออกแบบที่เน้นความหรูหรา หรือแบรนด์ที่ต้องการสื่อถึงความสวยงาม หรือผู้หญิง เนื่องจากความอ่อนช้อยของฟอนต์ 
            3.4 ฟอนต์ลายมือ หรือ Handwritting ฟอนต์ประเภทนี้จะเป็นฟอนต์ที่ไม่เป็นทางการ ใช้กับงานนำเสนอที่ต้องการให้มีความเป็นกันเอง สบายๆ หรือต้องการความน่ารัก ฉนั้นการนำไปใช้จึงควร คำนึงถึงการใช้งานเป็นอย่างมากเนื่องจากฟอนต์ลายมือจะส่งผลต่อการอ่านสไลด์ของผู้ชม ซึ่งบางครั้งทำ ให้ยากต่อการเข้าใจเนื้อหาของข้อมูลที่นำเสนอ 
            3.5 Display หรือฟอนต์แบบประดิษฐ์ฟอนต์ลักษณะนี้ตัวอักษรจะถูกตกแต่งหรือ ประดิษฐ์ให้มีความแปลก สวย เด่น แต่ไม่เหมาะสำหรับเนื้อหา หรือข้อความจำนวนมาก เนื่องจากอ่าน ยาก แต่เหมาะสำหรับพาดหัวข้อใหญ่
    4.

การนำภาพถ่ายหรือกราฟิก
มาใช้ในงานนำเสนอ การใช้ภาพประกอบการนำเสนอนั้นจะช่วยให้การนำเสนอของเรามีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ มากขึ้น เนื่องจากการใช้ภาพเป็นตัวเล่าเรื่องราวดึงดูดผู้ชมมากกว่าการใช้ตัวอักษร หรือภาพสื่ออารมณ์ นั่นเอง ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย หรือภาพกราฟิกต่างๆ จะเพิ่มความเข้าใจและการรับรู้ให้กับผู้ชมโดย ผ่านการเล่าเรื่องด้วยภาพ แต่ก็ยังมีข้อควรระวังเช่นกันนั่นก็คือ ไม่ควรใส่ภาพถ่ายจำนวนมากลงไปใน สไลด์เดียว หรือหากจำเป็นต้องใช้ควรมีการจัดวางที่เหมาะสม


    5. การใช้สีในงานนำเสนอ สีในงานนำเสนอ ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญ เพื่อใช้เป็นตัวกระตุ้นอารมณ์และเน้นความรู้สึกของ เรื่องราวหรือข้อความที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งการเลือกสีที่เหมาะสมจะทำให้สามารถสร้างแรงจูงใจในงาน นำเสนอ โดยสีที่นำมาใช้จึงควรแบ่งเป็น สีโทนร้อนและสีโทนเย็น หรือสีสว่างและสีเข้ม ซึ่งหากผู้นำเสนอ ต้องการเน้นข้อความใดในสไลด์นำเสนอจึงควรเน้นด้วยโทนสี หรือคู่สีตรงกันข้าม เพื่อให้ข้อความโดดเด่น และดึงดูดสายตาผู้ชม เพื่อให้เข้าถึงใจความสำคัญได้ง่ายขึ้น หรือเลือกใช้สีที่ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง Background และ ข้อความ เพื่อให้จะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน และอีกอย่างหนึ่งของการเลือกใช้สีคือ ไม่ควรใช้สีที่เยอะเกินไปโดยเฉพาะการใช้สีในข้อความ เพื่อให้งานดูทันสมัย และอ่านได้ง่ายขึ้น



    6. การคำนึงถึงพื้นที่วางและองค์ประกอบในงานนำเสนอ การออกแบบผลงานนำเสนอ ควรคำนึงถึงองค์ประกอบของภาพ โดยในหนึ่งสไลด์ไม่ควรมีการ กระจุกข้อความหรือภาพจนแน่นเกินไป จนทำให้ผู้ชมหรือผู้ฟังรู้สึกอึดอัด และทำให้ยากต่อการอ่าน ดังนั้น ผู้นำเสนอควรคำนึงถึงพื้นที่วางในงาน หากมีภาพประกอบก็ควรจะใส่เนื้อหาให้น้อยลง หรือ ใส่เฉพาะส่วน สำคัญ เว้นพื้นที่ภายในสไลด์ เพื่อให่ง่ายต่อการอ่าน หรือหากมีข้อความ รายละเอียด ควรมีการจัดวาง ฟอนต์ มีเล็กและใหญ่ เพื่อเป็นการเน้นในส่วนสาระสำคัญ และถือเป็นการใช้ข้อความมาเป็นลูกเล่นในงาน ออกแบบ


    7. การใช้กราฟและแผนภูมิ (Graph & chart) ในการนำเสนอ สิ่งสำคัญในการนำเสนอ คือ การบรรจุข้อมูลที่ง่ายต่อความเข้าใจของผู้รับ หรือผู้ฟัง ซึ่งการ นำเสนอด้วยข้อมูลซึ่งเต็มไปด้วยตัวเลข และข้อมูลทางสถิติต่างๆ ในการนำเสนอเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เพื่อง่ายต่อการเข้าใจของผู้ฟัง การเปลี่ยนข้อมูลเชิงตัวเลขให้เป็นภาพ ผู้นำเสนอผลงานควรให้ความสำคัญ เพราะจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย เห็นภาพชัดเจน ทำให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบัน การนำเสนองานในแนว Infographic ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากทำให้ข้อมูลหรือตัวเลขที่มีจำนวน มาก ถูกย่อยให้เข้าใจได้ง่ายด้วยภาพ หรือ graph

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก https://ird.rmutt.ac.th/?wpfb_dl=1592


    



 

Canva คืออะไร

       


        ก่อนหน้านี้การทำภาพ Graphic อาจต้องพึ่งพา Photoshop เพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบัน Canva คือ ทางเลือกใหม่ของ Graphic Designer ที่มอบเครื่องมือการทำงานอย่างครบถ้วน และมิติการทำงานที่หลากหลายขึ้นกว่าเดิมจนน่าตกใจ วันนี้ Digital Tips จะพาทุกคนไปเปิดโลกของ Canva ให้ครบทุกเรื่องราวในบทความเดียว

Canva คืออะไร 

ทำความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้นว่า แคนว่า หรือ Canva คือ อะไรกันแน่ เพราะบางคนยังอาจมีความสับสนอยู่เล็กน้อยว่านี่อาจเป็น โปรแกรม Canva แต่ที่จริงแล้วเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่สามารถใช้งานได้บนหน้าเว็บไซต์ โดยที่ไม่ต้องโหลดโปรแกรมเพื่อติดตั้งลงเครื่อง คุณเข้าใช้งานแบบออนไลน์ได้เลยทันที พร้อมกับช่องทางการใช้งานที่ไม่ได้กำหนดให้ต้องเปิดผ่าน Desktop เท่านั้น ยังใช้งานผ่านแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพาได้อีกด้วย


Canva สามารถใช้งานอะไรได้บ้าง 

แม้ช่วงปีก่อนเราอาจรู้จักว่า Canva เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างคอนเทนต์รูปภาพได้ง่าย ด้วยกีมี Template จำนวนมากให้ใช้งานฟรี แต่ปัจจุบันเมื่อช่วงวันที่ 15 กันยายน 2022 มีการพัฒนาระบบ ให้สามารถทำได้หลายอย่างมากขึ้น จนเรียกได้ว่านี่แหละคือการพลิกวงการกันเลยทีเดียว


ประโยชน์ของ Canva 

ด้วยเครื่องมือที่สามารถทำได้หลากหลายของ Canva ในปัจจุบันนี้ ส่งผลให้เจ้าแพลตฟอร์มออนไลน์ตัวเก่ง สามารถสร้างประโยชน์ได้หลากหลายมุมมอง


เริ่มต้นใช้ Canva ผ่านเว็บไซต์ 


    หากคุณเป็น Content Creator หน้าใหม่ที่อยากลองใช้งาน Canva สามารถเปิดเว็บไซต์ขึ้นมา แล้วทำการสมัครสมาชิกได้ทันที ซึ่งการสมัครสมาชิกเราไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลเพื่อเปิดบัญชีใหม่หมดตั้งแต่ต้น เราสามารถผูกบัญชี Canva กับ Facebook หรือ Gmail แล้วเข้าใช้งานได้เลยทันที


องค์ประกอบของหน้าแรกใน Canva

หลังจากที่ล็อกอินเข้าสู่ระบบกับ Canva เรียบร้อยแล้ว หน้าแรกที่เราต้องเจอจะมีแบ่งได้ประมาณ 4 ส่วนด้วยกัน คือ แถบซ้ายมือเป็นโปรไฟล์กับเมนู, แถบด้านบนเป็นเมนูการเริ่มต้นใช้งาน, ตรงกลางจอเป็น Icon ให้เราเลือกฟีเจอร์ที่ต้องการใช้งาน และพื้นที่ตรงกลางจะเป็น Template ที่ Canva เชิญชวนให้ลองใช้งาน และต่อเนื่องด้วย ไฟล์ที่เราเคยออกแบบไว้แล้วก่อนหน้านี้ไล่เรียงลงไป

เมนูจัดการการทำงาน

สำหรับเมนูจัดการการทำงานของ Canva ในหน้าการออกแบบดีไซน์ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในแถบด้านบนเหมือนกัน ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

  • แถบด้านบนซ้าย : Home กลับหน้าหลัก, File ตัวเลือกแสดงขอบกระดาษ / พิมพ์บรีด (ระยะตัดตก) / สร้างงานออกแบบใหม่ / บันทึก / ดาวน์โหลด, Resize ปรับขนาดภาพ, Undo (Ctrl+Z)การย้อนกลับทีละขั้นของการทำงาน
  • แถบด้านบนขวา : Blog Title – Untitled ชื่อไฟล์, Share ใช้สำหรับแชร์ไฟล์ Canva ไปแอปอื่น,Download โหลดไฟล์ประเภทที่ต้องการ





นำเสนองานยังไง ? ให้ถูกใจคน GEN Y

            Generation V คือกลุ่มคนที่กิดตั้งปี 1800-ตอนต้นของปี 2000 จุดเด่นของกลุ่มคน Gen Y จะเติบโตมาพร้อมๆ กับเทคโนโลยีและมีความมั่นใจใน...